CMUGS Podcast – Coffee, Me, & PM0.1 ที่ดอยสุเทพกับขุนช่างเคี่ยน
Podcast ที่สอง ของ CMU Geographic Society วันนี้ พวกเราจะชวน “ใส่แว่นส่องโลก” ผ่านมุมมองของนักภูมิศาสตร์กับกาแฟ โดยมีนักศึกษาปริญญาโทสองท่านคือ อรรถชัย บุญประเสริฐและอารียา ติวะสุระเดช เพื่อเข้าไปสำรวจว่าฝุ่นละอองขนาดเล็กมาก (Nanoparticles) หรือ PM0.1 คืออะไรกับอาจารย์ ดร. วรดร ไผ่เรือง และ PM0.1 อยู่ที่ไหนบ้าง เกี่ยวข้องกับกาแฟที่เราดื่มกันอย่างไร
“ปัญหาหมอกควันไฟป่าที่ได้ยินในช่วงที่ผ่านมา เกิดจากไฟป่า การเผาพื้นที่การเกษตร การเผาในพื้นที่โล่งที่ทำให้เกิดฝุ่นขนาดต่าง ๆ แต่ฝุ่นที่เกิดจากการเผาไหม้สร้างฝุ่นทุกขนาดอยู่แล้ว ฝุ่น PM0.1 แฝงอยู่ใน PM2.5 ประมาณร้อยละ 20 ขนาดฝุ่นยิ่งเล็ก ก็จะเข้าสู่ร่างกายได้ยิ่งลึก และสามารถเข้าไปสู่กระแสเลือดและส่งผลต่อสุขภาพได้ในระดับสูง สภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นแอ่งของเชียงใหม่-ลำพูน ก็เอื้อให้เราสัมผัสฝุ่นได้มากขึ้น”
.
“ขนาดของฝุ่น PM0.1 ที่เป็นของแข็งหรือของเหลวที่เกิดจากการเผาไหม้มีขนาดเท่ากับโคโรนาไวรัส หรือประมาณ 100 นาโนเมตร”
.
“เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันและเซนเซอร์ในประเทศไทยยังไม่สามารถวัดค่า PM0.1 แยกออกจาก PM2.5 ได้โดยตรง”
.
“PM0.1 อาจส่งผลต่อวัฏจักรของการก่อเมฆ ฝนและน้ำ และส่งผลต่อป่าไม้ที่อยู่ในบริเวณนั้น เช่นงานศึกษาที่ป่าอเมซอนที่ส่งผลต่อความชุ่มชื้นของป่า และอาจส่งผลต่อการกระจายตัวของพืช การเปลี่ยนแปลงของวัฎจักรของน้ำและฝน อาจส่งผลต่อแนวโน้มการผลิตกาแฟและพื้นที่เหมาะสมในการปลูกกาแฟได้ แต่ตอนนี้เราไม่สามารถตอบได้ว่าจะส่งผลต่อการเติบโตของเมล็ดกาแฟอย่างไร ฝนอาจต้องเยอะขึ้นก็ได้ หรือน้อยลงก็ได้ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจสะท้อนออกมาผ่านรสชาติกาแฟที่กำลังเปลี่ยนไป”
.
Link YouTube: https://www.youtube.com/watch?v=IHndC4qdKRs
#CMUGeographicSociety #CMUGS #ใส่แว่นส่องโลก #EP7 #ฝุ่น #กาแฟ #ขุนช่างเคี่ยน #ดอยสุเทพ #ป่า #pm0.1