ภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บุคลากรสายวิชาการ

อาจารย์ ดร.

ชยา วรรธนะภูติ

ตำแหน่ง : อาจารย์

chaya.v@cmu.ac.th

053943523

Content Navigation

เกี่ยวกับ

ชยาเป็นนักภูมิศาสตร์มนุษย์/นักภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม ผู้สนใจในประเด็นด้านสังคมสิ่งแวดล้อม จากมุมมองด้านนิเวศวิทยาการเมือง, ภูมิศาสตร์มาก-กว่า-มนุษย์ และภูมิศาสตร์เชิงสัมพันธ์, แอนโทรโพซีน, และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา (STS) โดยชยาสนใจหัวข้ออาทิ มิติทางวัฒนธรรมของลมฟ้าอากาศ มิติทางประวัติศาสตร์ของนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย, ความเป็นธรรมทางสิ่งแวดล้อมและการอภิบาลทรัพยากรของกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือของประเทศไทย

ปัจจุบัน ชยา ทำโครงการวิจัยในหัวข้อดังนี้ 1) ภูมิศาสตร์ของไฟ-อากาศ และการเมืองของไฟ-อากาศ ในบริบทของปัญหาไฟป่า-หมอกควันในภาคเหนือของประเทศไทย 2) กลุ่มชาติพันธุ์ผู้พิทักษ์สิ่งแวดล้อมที่ตกอยู่ในแรงกดดันของวาทกรรมการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ 3) การพัฒนาเกมส์และเครื่องมือการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์สำหรับการร่วมจัดการป่าไม้แบบการบูรณการข้ามศาสตร์ 

ชยา จบปริญญาเอกสาขา PhD in Human Geography จากมหาวิทยาลัย King's College London ในปี 2560 , ปริญญาโทสาขา Msc Climate Change จากมหาวิทยาลัย University of East Anglia ในปี 2551, และปริญญาตรีสาขา Bsc Geography จากมหาวิทยาลัย University of Leeds ในปี 2550

งานวิจัยที่สนใจ

  • ความเป็นธรรมทางสิ่งแวดล้อม, นิเวศวิทยาการเมือง, แอนโทรโพซีน
  • ภูมิศาสตร์มาก-กว่า-มนุษย์, ภูมิศาสตร์เชิงสัมพันธ์
  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา (STS)
  • มิติทางวัฒนธรรมของลมฟ้าอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, นโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • การจัดการทรัพยากรของกลุ่มชาติพันธุ์

หนังสือ

  • ชยา วรรธนะภูติ. (2567). ความไม่แน่นอนและการเมืองของปัญหาไฟป่า-หมอกควัน: กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2565-2567. เชียงใหม่. วนิดาการพิมพ์. ISBN: 978-974-326-724-6

บทความ

  • Mostafanezhad, M., Evrard, O., & Vaddhanaphuti, C. (2024). Particulate Matters: Air Pollution and the Political Ecology of a Boundary Object. Annals of the American Association of Geographers, 114(4), 826–843 https://doi.org/10.1080/24694452.2023.2299221 
  • ชยา วรรธนะภูติ. (2566). การเมืองเรื่องจุดความร้อน กับความไม่แน่นอนเชิงพื้นที่เวลาของระบบ “ไฟดี” (FireD) : กรณีศึกษาการจัดการปัญหาไฟป่าและหมอกควันจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2565. วารสารสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 35 (1): 189-235. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/259841
  • อนุตา ฐานะ และ ชยา วรรธนะภูติ. (2563). มิติเชิงพื้นที่และการบริโภคเชิงสัญญะของเสื้อผ้าวินเทจและเสื้อผ้ามือสองในอำเภอเมืองเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 23 (2): 357-374.  http://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOS/article/view/13298/10925 
  • พัชราภรณ์ จักรสุวรรณ์ และ ชยา วรรธนะภูติ. (2563). เส้นชีวิตระหว่างลิงกังกับคนเลี้ยงลิง: สู่พื้นที่แบบหลังมนุษย์นิยมแห่งการอยู่อาศัยและการกลาย. วารสารสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 32 (2): 11-36. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/246308 
  • ชยา วรรธนะภูติ และ รัตนาภรณ์ พุ่มน้อย. (2561). “โลกพันทาง” ของลุ่มน้ำ ปลาและผู้คนแห่งบ้านกง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย: มุมมองเชิงภูมิศาสตร์มนุษย์. วารสารสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 37 (2): 125-156. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSA/article/view/202486 
  • ชยา วรรธนะภูติ. (2561). ความสำคัญของความหมายเชิงวัฒนธรรมของลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศต่อกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. วารสารสิ่งแวดล้อม. 22 (3): 30-38. http://www.ej.eric.chula.ac.th/content/6107/40 

บทความในหนังสือ

  • ชยา วรรธนะภูติ. (2564). ว่าด้วยชีวิตทางสังคม ชีวิตทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และชีวิตทางการเมืองของ “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ในมนุษยสมัย. ใน เก่งกิจ กิติเรียงลาภ (บก.). บทวิพากษ์มนุษย์และวิกฤติสิ่งแวดล้อมในยุคสมัยแห่งทุน (น. 147-195). กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยา
  • สิรินธร (องค์การมหาชน). ISBN: 978-616-7154-98-5
  • Vaddhanaphuti, C. (2020). Governing Climate Knowledges: what can Thailand Climate Change Master Plan and climate project managers learn from lay Northern Thai villagers? In Kuei-Tien Chou, Koichi Hasegawa, Dowan Ku, Shu-Fen Kao (Eds.). Climate Change Governance in Asia. (pp. 108-132). London, Routledge. ISBN 9780367512217
  • ชยา วรรธนะภูติ. (2557). ทฤษฎีและระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพสำหรับนักภูมิศาสตร์ที่มองโลกแบบหอยทาก. ใน ลิวา ผาดไธสง (บก.). งานวิจัยทางภูมิศาสตร์: รวมบทความทาง วิชาการในวาระครบรอบ 50 ปี ภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (น. 42-55). เชียงใหม่: ล๊อคอินดีไซน์เวิร์ค.

งานเขียนอื่นๆ

  • ชยา วรรธนะภูติ. (2567). การคิดอย่างภูมิศาสตร์: ว่าด้วยแนวคิดเรื่องถิ่นที่ พื้นที่ และระดับพื้นที่. ใน ลิวา ผาดไธสง. (บรรณาธิการ). ถักร้อยความรู้ภูมิศาสตร์อันหลากหลาย: หมุดหมายความรู้ครบรอบ 60 ปี ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (ออนไลน์). https://geo.soc.cmu.ac.th/ebook60geo/?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR1-ONZ6B-pA6U8aGSl-hFCsKovL-7ipDiFwc1X0opbjQp6OQd22wXPw5sQ_aem_IJtW1VOJBsC6EKC24fzNeg 
  • ชยา วรรธนะภูติ. (2567). ก้าวไปข้างหน้า กับความไม่แน่นอนของปัญหาไฟป่า-หมอกควันจังหวัดเชียงใหม่. Lanner. https://www.lannernews.com/07052567-01/ 
  • Vaddhanaphuti, C. (2022). Conservation in the Age of Anthropocene: Past, Present and Future. Heinrich Böll Stiftung Southeast Asia. https://th.boell.org/en/2022/09/20/conservation?fbclid=IwAR1NGtZu0XAae7iPymGfags9QQBcXuu-yMHHVE9syysBObCkAE-x4W_iUV8 
  • ชยา วรรธนะภูติ. (2565). ‘การเมืองพื้นที่’ และ ‘การเมืองเวลา’ : การจัดการปัญหาไฟป่าและหมอกควันในเชียงใหม่. The101.World. https://www.the101.world/forest-fire/
  • ชยา วรรธนะภูติ. (2564). Climate Change ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ – สิ่งที่รัฐต้องตระหนักจากรายงาน IPCC ล่าสุด. SDG Move. https://www.sdgmove.com/2021/08/26/sdg-updates-climate-change-and-what-government-need-to-aware-ipcc-2021/ 
  • ชยา วรรธนะภูติ. (2564). CMUGS: ใส่แว่นส่องโลก EP.6 – เก็บตกจาก Clubhouse ห้อง Climate Talks Thailand: ใครเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ? https://geo.soc.cmu.ac.th/2022/03/24/cmugs-ep6/
  • ชยา วรรธนะภูติ. (2564). สรุปประเด็นสัมมนา Virtual Geography Speaker Series #1 บรรยายโดย ศาสตราจารย์ด้านภูมิศาสตร์ James Sidaway หัวข้อ “บทสะท้อนต่อการเปลี่ยนแปลงศาสตร์ทางภูมิศาสตร์จากมุมมองของวารสาร Singapore Journal of Tropical Geography (1953-)” https://geo.soc.cmu.ac.th/2022/03/24/vgss01_summarize/
  • ชยา วรรธนะภูติ. (2564). สรุปประเด็นสัมมนา Virtual Geography Speaker Series #2 บรรยายโดย ศาสตราจารย์ด้านภูมิศาสตร์ Paul Robbins หัวข้อ “การสำรวจและอธิบายความหลากหลายทางชีวภาพ: การผนึกกำลังงานวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพในด้านสิ่งแวดล้อม” https://geo.soc.cmu.ac.th/2022/03/24/vgss02_summarize/
  • Vaddhanaphuti, C. (2021). Climate change in Thailand: on politics of knowledge and governance. The Kyoto Review of Southeast Asia. Issue 30. https://kyotoreview.org/issue-30/climate-change-in-thailand-on-politics-of-knowledge-and-governance/